วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการทำเว็บบล็อก

1.ขั้นตอนแรกเราต้องสมัครสมาชิก ของ http://www.gmail.com/ มื่อสมัครเสร็จแล้ว เข้าไป สร้างบล็อก ที่ http://www.blogger.com/ จะเห็นดังรูป





2. ส่วนที่จะสมัครให้ดูใกล้ๆ มีข้อสังเกตุด้านบนขวาสุด จะเห็นช่องให้เลือกภาษา ยังไงก็แนะนำว่าเลือก "ภาษาไทย" ไว้ก่อน จะได้ศึกษาคำสั่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น


3.ก็ใส่อีเมล์ และรหัส ไปในช่องข้างบน แล้วกดเมนู "ลงชื่อเข้าใช้งาน" เลยก็จะไปสู่หน้าการสร้างบล๊อกได้เลยค่ะ




4. หน้าตาของขั้นตอน (step) ที่ 2 ก็เป็นการตั้งชื่อเว็บบล็อก และตั้งชื่อ URL หรือคล้ายโดเมนเนม ตรงนี้ขอแนะนำว่า การตั้งชื่อเว็บบล็อก ไม่ต้องไปซีเรียส สามารถเปลี่ยนได้ แต่ที่ซีเรียสคือ การตั้งชื่อ URL หรือ sub domain name นี่แหล่ะค่ะ เพราะมันแก้ไขไม่ได้ ตั้งแล้วตั้งเลย (ยกเว้นแต่จะลบบล็อกทิ้งเลย)









5. หน้าเว็บเพจสุดท้าย หรือขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างบล็อก คือ การเลือก "แม่แบบ" หรือ "theme" หรือ รูปแบบ-หน้าตา ของเว็บบล็อกของเราเอง ซึ่งผมก็ขอแนะนำว่า เลือกๆ ไปก่อนเถอะ มันไม่ได้สำคัญอะไร เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในบทความที่เกี่ยวข้องตอนแนะนำเมนูต่างๆ จะอธิบายให้อีกที จากนั้นก็กด "ลูกศร-ดำเนินการต่อ" ได้เลย






6. จะพบหน้าเว็บเพจ "บล็อกของคุณถูกสร้างเสร็จแล้ว" จากนั้นกดปุ่มลูกศร "เริ่มต้นการเขียนบล็อก" ได้เลยเพื่อเริ่มเขียนบล็อก






7. เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ ถ้าเพื่อนๆ ยังไม่รู้จะเขียนอะไร ก็ให้มั่วๆ ไปก่อนนะค่ะ



8.เมื่อกดเมนูสีส้มที่เขียนว่า "เผยแพร่บทความ" จะเห็นหน้าเว็บเพจนี้ก่อนค่ะ "เผยแพร่บทความบล็อกของคุณเสร็จสมบูรณ์" จากนั้นควรกดเมนู "ดูบล็อก" ก็จะเห็นหน้าเว็บบล็อกของเรา ซึ่งก็มีรปแบบหน้าตาที่เลือกๆ ไปก่อนหน้านี้ ที่แนะนำว่าเดี๋ยวเปลี่ยนทีหลังได้ค่ะ ก่อนจะไปดูหน้าเว็บบล็อกที่เสร็จแล้ว ขอแนะนำอีกวิธี
เมนู "แก้ไขบทความ" ถ้าเรากดเมนูนี้ จะไปสู่บทความที่เราพึ่งจะเขียนบทความมาก่อนหน้ารนี้ เพื่อเข้าไปแก้ไขเนื้อหาในบทความได้ค่ะ
ส่วนเมนู "สร้างบทความใหม่" ถ้ากดก็จะไปที่หน้าการเขียนบทความใหม่ค่ะ



9. กดเมนู "ดูบล็อก" ก็จะเห็นหน้าตาเว็บบล็อกของเราเอง ตามตัวอย่างข้างบน ถือว่าจบขั้นตอนการสร้างบล็อกแล้วนะค่ะ






การทำจดหมายเวียน

ขั้นตอนการทำจดหมายเวียน

1.โดยไฟล์จดหมายต้นฉบับทำจาก MS Word 2003 และไฟล์ข้อมูลทำจาก MS Excel 2003ให้พิมพ์ข้อมูลเก็บไว้เป็นไฟล์ก่อน โดยใช้ MS Excel 2003 ดังรูปที่ 1 แล้ว Save เก็บไว้ สมมติว่าตั้งชื่อไฟล์นี้ว่า Data.xls (ข้อมูลนี้เก็บอยู่ใน Sheet1 ของไฟล์ Data.xls)

2. พิมพ์จดหมายที่จะทำจดหมายเวียน ให้พิมพ์เฉพาะส่วนที่เหมือนกันทุกฉบับ ส่วนที่เปลี่ยนไป อย่างเช่น ชื่อ ให้เว้นเอาไว้ เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้ Save เก็บไว้ สมมติว่าตั้งชื่อไฟล์ว่า Letter.1.doc





3. เลือกเมนู Tools แล้วเลือกเมนูย่อย Letters and Mailings แล้วเลือกคำสั่ง Mail Merge…

4. จะปรากฏตัวช่วยทางด้านขวามือ โดยขั้นที่ 1 เป็นการเลือกประเภทของเอกสาร ให้เลือก Letters แล้วมองลงมาข้างล่าง ให้เลือกคำสั่ง Next: Starting document



5. ตัวช่วยทางด้านขวามือจะเข้าสู่ขั้นที่ 2 เป็นการเลือกจดหมายต้นฉบับ ให้เลือก Use the current document แล้วมองมาข้างล่าง ให้เลือกคำสั่ง Next: Select recipients




6.ตัวช่วยทางด้านขวามือจะเข้าสู่ขั้นที่ 3 เป็นการเลือกผู้รับจดหมาย ให้เลือก Use an existing list แล้วคลิกคำสั่ง Browse จะปรากฏหน้าต่าง Select Data Source นั่นคือ ให้เราไปเลือกไฟล์ผู้รับ ในที่นี้คือไฟล์ MS Excel 2003 ของเราที่ชื่อว่า Data.xls นั่นเอง แล้วคลิกปุ่ม Open



7. จะปรากฏหน้าต่าง Select Table เนื่องจากข้อมูลของเราเก็บอยู่บน Sheet1 ของไฟล์ Data.xls ดังนั้นในหน้าต่างนี้ ให้เลือก Sheet1$ แล้วคลิกปุ่ม OK




8. จะปรากฏหน้าต่าง Mail Merge Recipients จะเห็นได้ว่า MS Word มองเห็นข้อมูลที่เราเลือกมาจากไฟล์ Excel ซึ่งในขั้นตอนนี้ ที่หน้าต่างนี้ เราสามารถเลือกผู้รับได้ว่า ต้องการหรือไม่ต้องการให้ส่งถึงใครบ้าง ถ้าต้องการส่ง ให้เลือกเช็คบ็อกซ์ด้านหน้า เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม OK

9. MS Word จะปิดหน้าต่าง Mail Merge Recipients ต่อจากนี้ให้มองลงมาข้างล่าง แล้วเลือกคำสั่ง Next: Write your letter




10. ตัวเลือกทางขวาจะเข้าสู่ขั้นต่อไป คือ การเขียนจดหมาย หรือการใส่ฟิลด์ข้อมูลจาก Excel นั่นเอง ซึ่งทำได้โดย ให้คลิกคำสั่ง More items

11. จะปรากฏหน้าต่าง Insert Merge Field ให้คลิกเลือกฟิลด์ที่ต้องการ เนื่องจากตัวอย่างของเรา ต้องการชื่อและตำแหน่ง ดังนั้นในที่นี้ให้คลิกเลือกฟิลด์ “ชื่อ” แล้วคลิกปุ่ม Insert แล้วเลือกฟิลด์ “ตำแหน่ง” โดยทำในแบบทำนองเดียวกัน



12. การเลือกฟิลด์ “ชื่อ” และ “ตำแหน่ง” ดังกล่าว จะทำให้ข้อความในจดหมายเปลี่ยนไป



13. ให้มองลงมาข้างล่าง แล้วเลือกคำสั่ง Next: Preview your letters


14. จะเข้าสู่ขั้นต่อไปของการทำจดหมายเวียน เป็นการ Preview ว่าผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเช่นไร




15. ตัวเลือกทางขวามือจะเปลี่ยนไป ถ้าเราเลือกข้อมูลมาดีแล้ว ขั้นตอนนี้สามารถข้ามได้เลย โดยมองลงมาข้างล่างแล้วเลือกคำสั่ง Next: Complete the merge

16. จะปรากฏว่าตัวเลือกทางด้านขวาเปลี่ยนไป โดยเข้ามาสู่ขั้นตอนสุดท้าย ในขั้นตอนนี้ขอแนะนำว่าให้เลือกคำสั่ง Edit individual letters เพื่อให้ MS Word สร้างจดหมายของแต่ละคนให้ โดยจะเป็นไฟล์ต่อเนื่องกัน มีเนื้อความเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ฟิลด์ (จาก Excel) ที่ใส่ลงไปนั่นเอง




17. เมื่อคลิกคำสั่ง Edit individual letters แล้วจะปรากฏหน้าต่าง Merge to New Document ให้เลือก All แล้วคลิกปุ่ม OK




จะได้ว่า MS Word จะสร้างไฟล์ใหม่ เนื่องจากขั้นตอนที่ 1 เราเลือก Letters ดังนั้น MS Word จะสร้างไฟล์ใหม่ชื่อว่า letter1.doc (อย่าสับสนกับไฟล์จดหมายต้นฉบับ letter.1.doc นะคะ) แล้วทำซ้ำจดหมายเดิม แล้วเอาค่าจากฟิลด์ใน Excel ไปแปะใส่ ทำอย่างนี้ข้อมูลครบทุกอัน นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำจดหมายเวียนค่ะ


ขั้นตอนการสมัครงาน

ขั้นตอนการสมัครงาน

1. การเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน
2. การกรอกใบสมัคร
3. การเขียนประวัติย่อ (RESUME)
4. การเขียนจดหมายสมัครงาน
5. การสอบข้อเขียน หรือการทดสอบความสามารถ
6. การสัมภาษณ์
7. การติดตามผล

รายละเอียด ขั้นตอนการเตรียม ตัวสมัครงาน เฉพาะในการเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน การกรอกใบสมัคร การเขียนประวัติย่อ (RESUME) และการเขียนจดหมายสมัครงาน มีดังนี้

1. การเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน
ได้แก่ การเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมบุคลิกท่าทาง ตลอดจนเตรียมหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ในการสมัครงานไว้ให้พร้อม เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบรับรองผลการศึกษา ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร ประวัติย่อ ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ ควรมีการ ถ่ายเอกสาร เตรียมไว้เป็นชุด ๆ หลาย ๆ ชุด เพื่อพร้อมที่จะใช้ได้ทันที รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว เขียนชื่อ-นามสกุล หลังรูป จดหมายรับรองการฝึกงาน (ถ้าเคยฝึกงาน) หนังสือรับรองการทำกิจกรรมนิสิต ใบยกเว้นการรับราชการทหาร เครื่องใช้ในการกรอกใบสมัคร ปากกา (ดำหรือน้ำเงิน) ยางลบ ไม้บรรทัด ชื่อที่อยู่ของผู้ที่เราจะอ้างอิงถึง (ขออนุญาตเสียก่อน) เสื้อผ้าชุดที่เรียบร้อยที่สุดหรือชุดที่ทำให้เรามั่นใจมากที่สุด ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท-หน่วยงานที่เราต้องการสมัคร รวมทั้งลักษณะงานในตำแหน่งที่สมัคร

2. การกรอกใบสมัคร
ใบสมัครนับเป็นเครื่องมือลำดับแรกในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน เพราะส่วนใหญ่ใช้วิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากรายละเอียดในใบสมัคร เช่น กิจกรรมที่เคยทำขณะศึกษาอยู่ลักษณะของงานและความรับผิดชอบที่มีอยู่ นอกจากนี้ ผู้สัมภาษณ์ยังใช้ศึกษาเพื่อทำความคุ้นเคยกับผู้สมัครและจะเตรียมการซักถามเพิ่มเติมถึงรายละเอียดในบางหัวข้อ ขณะทำการสัมภาษณ์ ดังนั้น ผู้สมัครจึงควรทำความเข้าใจกับใบสมัครก่อนที่จะกรอกเพื่อจะได้กรอกได้อย่างถูกต้องเรียบร้อยและดึงดูดความสนใจ ของผู้พิจารณาใบสมัคร

3. การเขียนประวัติย่อ (RESUME)
คำว่า "Resume" นี้ มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า resume ซึ่งก็มีความหมายว่า Summary แปลเป็นไทยว่า สรุป หรือ ย่อ ฉะนั้นเวลาเขียนจะใช้สะกดแบบฝรั่งเศส หรือแบบอังกฤษก็ได้ด้วยกันทั้งสองแบบปัจจุบันนี้ Resume นับว่ามีความสำคัญเท่า ๆ กับจดหมายสมัครงาน (Application Letter) ก็แทบจะว่าได้ จะเห็นได้จาก ข้อความที่ลงโฆษณางานตามหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารต่าง ๆ โดยฝ่ายนายจ้างจะบอกให้ผู้สมัครส่ง Resume แนบไปพร้อม กับจดหมายสมัครงานด้วย ดังจะดูได้จากข้อความที่ลงโฆษณา ซึ่งจะระบุโดยละเอียดว่าผู้สมัครต้องแนบเอกสารอะไร ไปพร้อมกับจดหมายนี้บ้าง เช่น
1. Please submit application letter stating expected salary, resume and a recent photo to ... (โปรดยื่นจดหมายสมัครงานพร้อมทั้งแจ้งเงินเดือนที่ต้องการ พร้อมทั้งแนบประวัติย่อและรูปถ่ายปัจจุบันหนึ่งรูปไปที่ ....)
2. Please send handwritten application, resume, transcript and a recent photo to ... (โปรดส่งจดหมายสมัครงานเขียนด้วยลายมือแนบประวัติย่อ ผลการศึกษาและรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง....)


รายละเอียดในประวัติย่อ
Resume เปรียบเสมือนเครื่องเปิดประตูที่ดี กล่าวคือ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้โดยย่อ และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเปรียบได้กับใบโฆษณาคุณสมบัติของตนเองอีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนก็ต้องให้ความสนใจ เป็นพิเศษว่าใน Resume นั้น ควรจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดอะไรบ้าง และมีระเบียบที่จะต้องปฏิบัติอย่างไร

ลักษณะของ Resume ที่ดี
1). ยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ ซึ่งมีขนาด A4 (หรือประมาณ 8"x12") และเป็นกระดาษสีขาว มีคุณภาพ แต่ถ้าเป็นนักศึกษาจบใหม่ ด้วยแล้ว ควรจะเขียนให้จบในหนึ่งหน้ากระดาษเท่านั้น และรวมเฉพาะรายละเอียดที่จำเป็น และต่อประเด็นจริง ๆ เท่านั้น
2). อย่าใช้คำย่อในคำที่ไม่ควรย่อ เช่น วันเดือนปีเกิด ควรเขียนคำเต็ม ส่วนคำอื่น ๆ ถ้าจะย่อหรือไม่ย่อนั้น ให้ดูตามหลักสากลนิยมเป็นตัวอย่าง
3). ในกรณีที่ระบุงานอดิเรกเข้าไว้ด้วย ควรระวังว่างานอดิเรกที่เราเอ่ยถึงนั้นมีความเหมาะสมกับงานที่เราสมัครหรือเปล่า

4. การเขียนจดหมายสมัครงาน
การเขียนจดหมายสมัครงาน ต้องพิมพ์ให้สะอาดเรียบร้อยด้วยกระดาษพิมพ์ขนาดสั้น (8x1/2" x 11") ทุกครั้ง แต่ถ้าในประกาศรับสมัครระบุให้เขียนด้วยลายมือตนเอง ก็ควรเขียนตัวบรรจง ให้อ่านง่ายสะอาดเรียบร้อยและสวยงาม ควรมีความยาวจำกัดเพียง 1 หน้ากระดาษ ใช้ฟอร์มการเขียนแบบจดดหมายธุรกิจ และต้องปราศจากข้อผิดพลาดใด ๆ ทั้งสิ้น ควรกล่าวเจาะจงนามบุคคลแทนการกล่าวตำแหน่งหรือผู้เกี่ยวข้อง (คุณ...แทน ผู้จัดการฝ่ายบุคคล) แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าจะสามารถสะกด ชื่อ-นามสกุล ได้อย่างถูกต้อง หรือไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นใครก็ควรจะใช้ "ผู้จัดการฝ่ายบุคคล" หรืออื่น ๆ ที่ประกาศรับสมัครงานระบุไว้
ต้องส่งพร้อม RESUME ทุกครั้ง ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บนจดหมายแนะนำหรือจดหมายสมัครงานควรที่จะทำให้นายจ้างหรือแผนกบุคคลสนใจและเรียกตัวเข้าสัมภาษณ์ ข้อมูลที่กล่าวนี้อาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1). คุณเป็นใคร และทำไมคุณจึงเขียนจดหมายส่งไปยังบริษัท 2). กล่าวถึงความสามารถของคุณที่คาดว่าจะมีคุณค่าต่อบริษัท 3). กล่าวถึงความสนใจของคุณที่มีต่อบริษัทโดยการพูดถึงสิ่งที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณได้สละเวลาศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับบริษัท โดยสรุปแล้วย่อหน้าสุดท้ายของจดหมายสมัครงานมีไว้เพื่อ 1. ขอนัดเวลาสัมภาษณ์ 2. ขอฟังคำตอบจากนายจ้างหรือแผนกบุคคล 3. บอกว่าคุณจะติดต่อภายหลัง
โปรดจำไว้เสมอว่าจดหมายสมัครงานต้องส่งควบคู่กับ RESUME ทุกครั้ง

http://gotoknow.org/ask/yom-nark/3006

หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)

1.หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 3 หน่วยกิต

1500103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน 3(3-0)
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2500101 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน 3(3-0)
2000101 สุนทรียภาพของชีวิต 3(3-0)
(3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
2500103 วิถีโลก 3(3-0)และ/หรือ
2500104 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3(3-0)
(4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
4000102 การคิดและการตัดสินใจ 3(2-2)และ/หรือ
4000104 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(2-2)

2.หมวดวิชาเฉพาะด้าน(แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) 49 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1 บังคับเรียน 24 หน่วยกิต
1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ2 3(3-0)
3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
3504101 จริยธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ1 3(2-2)
4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์1 3(2-2)
1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 1 3(2-2)
4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)
4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล
4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1)ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏแล้วให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจตาม 1.2 แทน
2)ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้
3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1
3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1
3521101 การบัญชี 1
3521102 การบัญชี 2
4112105 สถิติธุรกิจ
3531101 การเงินธุรกิจ
3541101 หลักการตลาด
ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3)สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน

(2) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ
บังคับเรียน 9 หน่วยกิต
3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)

(3) กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 2(0-90)
3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 3(0-210)

3.หมวดวิชาเลือกเสรี
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว


นางสาวพิไลรักษ์ โชควิเศษชัยสิทธิ์ (ปุ้ย)

เกิด : 28 ธันวาคม 2524

ที่อยู่ : 35 ซ.เพชรเกษม 52
บางหว้า ภาษีเจริญ
กรุงเทพฯ 10160

สถานศึกษา : โรงเรียนวัดรางบัว
วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

โทร. 0-2805-0795
086-977-2763